หน้าแรก / R-SCI 101 • พฤษภาคม 29, 2023

การขอรับรองเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) กับ สำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

organic thailand

สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand
สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย Organic Thailand’s Brand กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จำกัดความของการเกษตรอินทรีย์

สำนักงาน มาตรฐานสนค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “เกษตร อินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพโดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการ สังเคราะห์ และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม(genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพ ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”

ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับ ACT

ขั้นที่ 1 ศึกษาทำความเข้าใจและเตรียมชุดใบสมัคร
ศึกษาประเภทการรับรอง และ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ขอแนะนำให้ผู้สมัครเลือกประเภทการผลิตตามลักษณะการผลิต / การประกอบการของท่านและตลาด

เอซีที ออร์แกนิค ให้บริการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แตกต่างกันไปครอบคลุมกิจกรรมการผลิต 9 ประเภท ได้แก่

  1. การผลิตพืช
  2. การแปรรูปและการจัดการ
  3. ปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า
  4. การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ
  5. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  6. การเลี้ยงผึ้ง
  7. ปศุสัตว์
  8. เมนูอาหารอินทรีย์
  9. การรับรองแบบกลุ่ม
  10. เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

โดยแต่ละประเภทจะได้รับรองแต่ละโปรแกรมข้างต้นแตกต่างกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

หลังจากนั้นจึงศึกษามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ CertAll 2019 และทำการประเมินตนเองว่าสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานและเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ ได้หรือไม่ เช่น นาย ACT เป็น ผู้ปลูกพืชและแปรรูปเป็นอาหาร ต้องการขายสินค้าไปยังสหภาพยุโรป เพราะฉะนั้นนาย ACT ควรอ่านมาตรฐาน การผลิตพืชและการแปรรูป โดยมุ่งเน้นไปยังมาตรฐาน EU เป็นหลัก

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตาม โดย ACT จะใช้มาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินรับรองการประกอบการของท่าน ดังนั้นก่อนที่จะทำการสมัคร ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อกำหนดในการผลิตแบบอินทรีย์ที่ขอการรับรองอย่างละเอียดและถี่ถ้วนเสียก่อน

การขอรับชุดใบสมัคร


เมื่อมีความชัดเจนในประเภทมาตรฐานที่ต้องการสมัครได้แล้ว ผู้สมัครสามารถขอรับชุดใบสมัครได้สองช่องทาง ได้แก่

แจ้งความประสงค์สมัครขอรับรอง และรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ หรือ
ส่ง email มาที่ info@actorganic-cert.or.th ระบุ ชื่อ ประเภทและมาตรฐานที่สนใจสมัคร และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ACT จะส่งไฟล์ชุดใบสมัครให้ทางที่อยู่อีเมล ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลในชุดเอกสารการสมัคร ซึ่งประกอบด้วย ใบสมัครและข้อตกลงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ แผนการผลิตตามประเภทที่ขอการรับรอง รวมทั้งเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 2 การยื่นใบสมัครชำระค่าสมัคร


กรอกใบสมัครและเตรียมเอกสารประกอบ การกรอกเอกสารเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะการให้ข้อมูลที่ถูกต้องจะทำให้ประเมินค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองได้ชัดเจน และจะมีประโยชน์ต่อตัวท่านเองในระยะยาว ท่านจึงควรมีเวลาเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนเพื่อให้ได้ถูกต้อง ใกล้เคียงกับการประกอบการของท่านมากที่สุด เมื่อผู้สมัครกรอกชุดใบสมัครครบถ้วนเสร็จสมบูรณ์และชำระค่าสมัคร 1,070 บาท ตามเลขที่บัญชีที่แจ้งไปพร้อมกับชุดใบสมัคร (ค่าสมัคร ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมการขอรับรอง)

ส่งเอกสารและหลักฐานการชำระค่าสมัครมาที่ info@actorganic-cert.or.th เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการตรวจสอบใบสมัคร หรือ อาจจะเรียกเอกสารเพิ่มเติม

เพราะฉะนั้นก่อนยื่นใบสมัครควรตรวจทานความครบถ้วนและเรียบร้อยของเอกสารทุกฉบับก่อน เพื่อมิให้การตรวจสอบใบสมัครล่าช้าจนเกินไป

ขั้นที่ 3 การชำระค่าธรรมเนียมการขอรับรอง


เมื่อใบสมัครเรียบร้อยแล้วจะออกใบแจ้งค่าธรรมเนียมการขอรับรอง โดยจะประเมินค่าใช้จ่ายตามประเภทมาตรฐาน และรายละเอียดการประกอบการของผู้สมัคร ตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร ผู้สมัครจะต้องชําระค่าธรรมเนียมแล้วส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมขอรับรอง

หลังจากการชําระค่าธรรมเนียมผู้ขอรับรองจะได้รับการติดต่อจากฝ่ายตรวจ ACT เพื่อนัดหมายการตรวจ ณ สถานที่ผลิต/ที่ประกอบการ

ขั้นที่ 4 การนัดตรวจประจำปีครั้งแรก


เป็นการตรวจที่สําคัญมากโดยจะตรวจสถานที่ประกอบการทุกแห่งที่เกี่ยวข้อง และประเมินเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการได้ปรับความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที ได้สมัครขอการรับรอง

การตรวจครั้งแรกจะต้องมีการนัดล่วงหน้ากับผู้ประกอบการ
หลังการตรวจผู้ขอรับรองจะได้สําเนารายงานการตรวจ หากมีข้อบกพร่องผู้ตรวจจะแจ้งให้ทราบ และผู้ขอรับรองต้องเสนอมาตรการแก้ไข หรือดำเนินการแก้ไขในทันที พร้อมกับแจ้งการแก้ไขหรือมาตรการแก้ไขนั้น ให้ ACT

ขั้นที่ 5 พิจารณาและแจ้งผลการรับรอง


เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรองของ มกท. จะพิจารณารับรองจากผลรายงานการตรวจ ประเด็นข้อบกพร่องที่พบและการแก้ไข แล้วแจ้งผลการรับรองให้ผู้ขอรับรองทราบ โดยออกเป็นจดหมายรับรองผลส่งให้ผู้ขอรับรองและให้ผู้ขอรับรองลงลายมือชื่อในใบตอบรับส่งกลับไปให้ มกท. เก็บไว้เป็นหลักฐาน

ขั้นที่ 6 ออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์


จากนั้นหากผู้ขอรับรองแก้ไขข้อบกพร่องสำคัญเรียบร้อยแล้ว และเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชที่พ้นระยะปรับเปลี่ยนแล้วเท่านั้น ทาง ACT จะออกใบรับรองให้ (ใบรับรองจะหมดอายุทุกวันที่ 31 มีนาคม ของปีปฏิทินถัดไป และท่านจะเข้าสู่กระบวนการต่ออายุ)

โปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM

มกท. ได้รับการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM จาก IOAS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์แห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองระบบงานนี้

เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดย สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ( International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM ) ซึ่งได้ริเริ่มจัดตั้ง โครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM (IFOAM Accreditation Programme) ขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อให้บริการรับรองระบบงานแก่หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 สหพันธ์ฯ ได้จัดตั้ง IOAS (International Organic Accreditation Service) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการรับรองระบบงานนี้ ภายใต้กรอบของโครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM โดย IOAS จดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในขอบข่ายเกี่ยวกับ การเพาะปลูกพืช การเก็บผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปและจัดการผลผลิต และปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า

ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ตามระบบนี้ จะสามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท. ร่วมกับตรา “IFOAM Accredited” (ต้องใช้ร่วมกันเสมอ) สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก มีหลายประเทศที่ผู้นำเข้าต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในระบบนี้ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

02 โปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป-01


โปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป


สำหรับผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายในการส่งออกสินค้าอินทรีย์ไปยังสหภาพยุโรป โปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรปของ มกท. ให้การรับรองการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป คือ Council Regulation (EC) No 834/2007 เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยระเบียบใหม่นี้ได้เริ่มบังคับใช้จริงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2555 นอกจากนี้กรรมาธิการเกษตรยังได้ออกระเบียบสำหรับการปฏิบัติ (implementing rules) อีก 2 ฉบับ คือ Commission Regulation (EC) No 889/2008 และ Commission Regulation (EC) No 1235/2008 ซึ่งฉบับแรกเป็นข้อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ เลี้ยงสัตว์ และแปรรูป ส่วนระเบียบฉบับที่สองเป็นระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศ

มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ (Article 10 of Regulation (EC) no.1235/2008) ตั้งแต่ตุลาคม 2554 โดยในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองในขอบข่ายการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต ผู้ประกอบการที่ขอการรับรองในระบบนี้ เมื่อได้รับการรับรองแล้วจะสามารถใช้ตราเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรปบนผลผลิตได้

เอกสารข้อกำหนดการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระบบสหภาพยุโรปนี้ จะใช้เอกสาร “มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.” เพราะมาตรฐาน มกท. ได้รับการประเมินและยอมรับ ว่ามีความเท่าเทียมกันกับเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรปแล้ว แทนที่จะต้องไปใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรปโดยตรง

สมาพันธรัฐสวิส


ผู้ที่ได้รับการรับรองผ่านโปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU Program) ยังสามารถขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ไปยังสมาพันธรัฐสวิสได้อีกด้วย เนื่องจากรัฐบาลแห่งสมาพันธรัฐสวิสได้ออกข้อกำหนดในการผลิตเกษตรอินทรีย์ Switzerland’s Organic Farming Ordinance (SR 910.18) ในปี 2540 เพื่อกำหนดกฏเกณฑ์ในการผลิต กระจายสินค้า และการติดฉลากสินค้าอินทรีย์ โดยมี The Federal Office for Agriculture (FOAG) เป็นองค์กรตรวจสอบดูแล

โปรแกรมการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU Program) ของ มกท.มีความเท่าเทียมกับข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น และทาง มกท.ได้รับการขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ตามข้อกำหนดการผลิตเกษตรอินทรีย์ Switzerland’s Organic Farming Ordinance (SR 910.18) (Article 23a) โดยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นองค์กรที่สามารถตรวจและรับรองในประเภทการผลิตพืชและ การแปรรูปและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว

03 โปรแกรมรับรองระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดา-01

โปรแกรมรับรองระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดา

มกท., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ACT, Organic Standard
นี่คือทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าอินทรีย์ไปยังตลาดสองแห่งด้วยระบบการรับรองเพียงหนึ่งเดียว

แคนาดา


รัฐบาลแคนาดาเริ่มนำระบบ Canada Organic Regime (COR) ออกใช้ในปี 2552 ตามระเบียบ Organic Products Regulations, 2009 (SOR) โดยมี Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

Canada Organic Office (COO) จะทำการปรับปรุงแก้ไขคู่มือการทำงาน (COO Operating Manual) อยู่เสมอ ท่านที่สนใจสามารถขอเอกสาร COO Operating Manual ได้ที่ มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่มิถุนายน 2552 ในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองในขอบข่ายการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต

เอกสารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แคนาดา ในขอบเขตที่ มกท. ให้การรับรองในปัจจุบัน (CAN/CGSB 32.310, CAN/CGSB 32.311)

นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาผลการตีความมาตรฐานแคนาดา ซึ่งเป็นผลการตัดสินอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการตีความมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (​SIC -Organic Standards Interpretation Committee)

สหรัฐอเมริกา


โปรแกรมการรับรองมาตรฐานสหรัฐอเมริกา หรือ The National Organic Program (NOP) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้รับการรับรองเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกำกับดูแลการทำเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2545

ต่อมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงทางการค้ากับหลายประเทศเพื่อส่งเสริมการค้าเกษตรอินทรีย์ การลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการรับรองความเท่าเทียมของสหรัฐฯ และแคนาดาซึ่งลงนามใน ปีพ. ศ. 2552 ถือว่ามาตรฐานสหรัฐอเมริกา (USDA-NOP) และมาตรฐานแคนาดา (COR) มีความเทียบเท่ากัน และข้อตกลงนี้ช่วยให้การแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ระหว่างสองประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องมีการรับรองเพิ่มเติม ยกเว้นข้อกำหนดเฉพาะบางประการ

มกท. ไม่ได้ให้บริการในการรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตามมาตรฐาน NOP โดยตรง อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่ขอรับรองในโปรแกรม US-CANADA ของ มกท. ผลิตภัณฑ์ของคุณจะได้รับการรับรองตามมาตรฐานแคนาดา (COR) คุณสามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ภายใต้ข้อกำหนดของข้อตกลงนี้ โดยสามารถใช้ตรา COR, USDA หรืออย่างใดอย่างหนึ่งบนผลิตภัณฑ์ของคุณ

เช่นเดียวกับมาตรฐานแคนาดา ประเภทการผลิตที่ มกท.ให้การรับรอง ได้แก่ การผลิตพืช การแปรรูปและการจัดการและการเก็บเกี่ยวของป่า